เมนู

ญัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนะ
วิญญาณัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญ-
จัญญายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ.
ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ จริง แท้
แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 10



[465] ธรรม 10 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 10 อย่าง ควรเจริญ
ธรรม 10 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 10 อย่าง ควรละ ธรรม 10 อย่าง
เป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม 10 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 10 อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม 10 อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 10 อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม 10 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[466] ธรรม 10 อย่าง มีอุปการะมากเป็นๆไฉน. ได้แก่ นาถ-
กรณธรรม 10 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
สำรวมระวังปาติโมกข์ถึงพร้อมอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษเพียง
เล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุมีศีลสำรวม
ระวังโนปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษ
เพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหุสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรม
ที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ย่อมประกาศพรหมจรรย์.
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น
อันเธอสดับแล้วมาก ทรงไว้แล้วคล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอด
ทิฏฐิ. ข้อที่ภิกษุเป็นพหุสูต . . . แทงตลอดด้วยทิฏฐิ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี. ข้อที่
ภิกษุมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้
เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรม ที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา
แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วย
ปัญญา เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทำ สามารถจัด
ในกรณียกิจ ใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้
ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบาย
ในการงานนั้น สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความ
ปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรมเจรจาน่า-

รักมีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรปิณฑบาตเสนาสนะ
และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรปิณฑบาตเสนาสนะและเภสัชบริขาร เป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมี
ตามได้ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ มีกำลัง มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ . . . แม้นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้ว
นานได้. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้ว
นานได้. แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เห็น
ความเกิดและความดับเป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา... ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม. ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ มีอุปการะ
[467] ธรรม 10 อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ กสิณา-
ยตนะ 1 คือ ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
ตามลำดับหาประมาณมิได้. ผู้หนึ่งจำอาโปกสิณได้. . . ผู้หนึ่งจำเตโชกสิณ

ได้ . . . ผู้หนึ่งจำวาโยกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำนีลกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำปีต-
กสิณ . . . ผู้หนึ่งจำโลหิตกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำโอทาตกสิณไดั . . . ผู้หนึ่ง
จำอากาสกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณมิได้. ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ
[468] ธรรม 10 อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อายตนะ
10 คือ จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ
คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ธรรม
10 อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[ 469 ] ธรรม 10 อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ มิจฉัตตะ
10 คือ เห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด อาชีพผิด ความพยายามผิด
ระลึกผิด ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด. ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[ 470 ] ธรรม 10 อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อกุศลกรรมบถ 10 คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา พยาบาท
ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม. ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ เป็นไปใน
ส่วนข้างเสื่อม.
[ 471 ] ธรรม 10 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
กุศลกรรมบถ 10 คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติ
ผิดในกาม เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้น
จากพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบ

ตามคลองธรรม. ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[472] ธรรม 10 อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
อริยวา 10 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละองค์
5 ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ 6 มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา มีธรรม
เป็นพนักพิง 4 ด้าน มีสัจจะเฉพาะอย่างบรรเทาแล้ว มีความแสวงหาทุก
อย่างอันสละแล้ว มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิต
หลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพันดีแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ 5 ได้แล้ว. กามฉันทะ พยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจีกิจฉา เป็นโทษอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ละ
ได้แล้ว. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ 5 ได้แล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 6. ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยตา . . . ฟังเสียงด้วยหู . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น. . . .
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย
เป็นผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
องค์ 6.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา. ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ประกอบแล้วด้วยใจ มีสติเป็นเครื่องรักษา. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง 4 ด้าน. ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้ว เว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.

อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง 4 ด้าน.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว. สัจจะ
เฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก อันภิกษุในธรรม
วินัยนี้บรรเทาแล้ว บรรเทาดีแล้ว สละคายปล่อยละสละคืนเสียหมดสิ้น
แล้ว. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว. ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้สละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหา
พรหมจรรย์. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ละความดำริในกาม ในความพยาบาท ในความเบียดเบียน. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ เพราะดับ
โสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ เสียได้ มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์อยู่. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระดับแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว. จิตของภิกษุในธรรมวินัย
นี้ หลุดพ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้น
ดีแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ โมหะ อันเราละแล้ว ถอนรากแล้ว ทำให้เหมือน
ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว. ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.

[473] ธรรม 10 อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. คือ สัญญา 10
ได้แก่ อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญากำหนด
หมายในความตาย อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในอาหารว่า เป็น
ปฏิกูล สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่ายินดี ในโลก
ทั้งปวง อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา
กำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกเข อนัตตสัญญา กำหนดหมาย
ในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กำหนดหมายการละ วิราคสัญญา
กำหนดหมายวิราคธรรม นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธความดับ.
ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[474] ธรรม 10 อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ นิชชิณณวัตถุ
10 คือ ความเห็นผิดอันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ ทั้งอกุศลธรรมอัน
ลามกไม่น้อย ที่เกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรม
ไม่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความดำริ
ผิดอันบุคคลผู้ดำริชอบย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย . . .
เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย . . . เจรจาผิดอันบุคคลผู้เจรจาชอบยอม
จะได้ . . . เพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย. . .
การงานผิดอันบุคคลผู้ทำการงานชอบย่อมละได้. . .เพราะมิจฉากัมมันตะ
เป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย . . . เลี้ยงชีพผิดอัน
บุคคลผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย . . .
เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย . . . ความพยายามผิด อันบุคคลผู้พยายาม
ชอบย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมา

วายามะเป็นปัจจัย. . . ความระลึกผิด อันบุคคล ผู้ระลึกชอบย่อมละได้ . . .
เพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย . . . ความตั้ง
ใจผิด อันบุคคลผู้ตั้งใจชอบ ย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย . .
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย . . . ความรู้ผิด อันบุคคลผู้รู้ชอบ ย่อมละได้. . .
เพราะมิจฉาญาณเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมาญาณเป็นปัจจัย . . . ความพ้น
ผิดอันบุคคลผู้พ้นชอบ ย่อมสละได้ ทั้งอกุศลธรรมอันลามกไม่น้อย ที่เกิด
เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมไม่น้อย ย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย . ธรรม 10 อย่างเหล่านี้
ควรรู้ยิ่ง.
[475] ธรรม 10 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่
อเสขธรรม 10 คือ ความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ. .. ความดำริชอบ. . .
เจรจาชอบ . . . การงานชอบ . . . เลี้ยงชีพชอบ. . . พยายามชอบ . . .ระลึก
ชอบ. . . ตั้งใจชอบ . . . ความรู้ชอบ. . . ความพ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ.
ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรมหนึ่งร้อยเหล่านี้ ดังพรรณนา
มานี้เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคต
ตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว.
ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตร ด้วยประการฉะนี้
จบทสุตตรสูตรที่ 11
จบปาฏิกวรรค.

อรรถกถา ทสุตตรสูตร



ทสุตตรสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น

พรรณนาบทอันไม่เคยมี ในทสุตตรสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. คำว่า
อาวุโส ภิกฺขเว นั้นเป็นคำร้องเรียกพระสาวกทั้งหลาย. จริงอยู่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะตรัสเรียกบริษัท ย่อมตรัสว่า ภิกฺขเว ดังนี้.
พวกพระสาวกคิดว่า เราจักตั้งพระศาสดาไว้ในที่อันสูง ดังนี้แล้วไม่ร้องเรียก
ด้วยการร้องเรียกพระศาสดา ย่อมร้องเรียกว่า อาวุโส ดังนี้ . สองบทว่า
เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุผู้นั่งแวดล้อมพระธรรมเสนาบดีเหล่านั้น ถามว่า
ก็ภิกษุเหล่านั้น คือเหล่าไหน. แก้ว่า ภิกษุผู้อยู่ไม่ประจำที่คือ ผู้ไปสู่ทิศ.
จริงอยู่ ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุย่อมประชุมกัน 2 วาระ คือ
ในกาลจวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้าแล้ว 1 ในกาลปวารณา 1. ครั้นเมื่อดิถี
จวนเข้าพรรษาใกล้เข้ามา พวกภิกษุ 10 รูปบ้าง 20 รูปบ้าง 30 รูปบ้าง
40 รูปบ้าง 50 รูปบ้าง เป็นพวก ๆ ย่อมมาเพื่อต้องการกรรมฐาน. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงบันเทิงกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุไร ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษา ใกล้เข้าแล้ว พวกเธอจึงเที่ยว
กันอยู่. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกข้าพระองค์มาเพื่อพระกรรมฐาน ขอพระองค์จงให้พระกรรมฐานเเก่ข้า
พระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้. ด้วยสามารถแห่งความประพฤติของภิกษุ
เหล่านั้น พระศาสดาจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต ให้เมตตา-
กัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้โทสจริต ให้อุทเทส ปริปุจฺฉา การฟังธรรมตามกาล